ดักจับเชื้อวัณโรคและเชื้อไวรัสที่ปนเปื้อนในอากาศ


แก้วใจ   มะไลยเถา  4937695  TMTM/M
วท.ม.  (อายุรศาสตร์เขตร้อน)

คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ : พงศ์ราม   รามสูต , D,V.M., Ph.D .(Microbiology),
ธารีรัตน์  กะลัมพะเหติ , Ph.D.(Microbiology), สุวลีย์   วรคุณพิเศษ, Ph.D.(Tropical  Medicine)


บทคัดย่อ

เนื่องด้วยมีการเพิ่มขึ้นของการแพร่กระจายเชื้อในอากาศของเชื้อวัณโรคและเชื้อไวรัสในอากาศ ซึ่งเป็นสาเหตุของการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ  การใช้อุปกรณ์ในการกรองอากาศเป็นอีกทางเลือกหนึ่งเพื่อใช้ลดการติดเชื้อจากอากาศ อย่างไรก็ตาม มีการศึกษาเกี่ยวกับประสิทธิภาพของเครื่องฟอกอากาศแบบใช้ไฟฟ้าเพื่อดักจับเชื้อวัณโรคและเชื้อไวรัสที่ปนเปื้อนในปริมาณอากาศน้อยมาก ในการศึกษาครั้งนี้จึงได้ทำการทดสอบประสิทธิภาพของเครื่องฟอกอากาศแบบใช้ไฟฟ้าเพื้อดักจับเชื้อวัณโรคและเชื้อไวรัสที่ปนเปื้อนในอากาศ  เปรียบเทียบกับเครื่องฟอกอากาศประสิทธิภาพสูง  (high   efficiency  particulate  air , HEPA)  และเมื่อปราศจากเครื่องฟอกอากาศ การทดลองได้ทำในตู้จำลองแบบปิดที่ติดตั้งเครื่องฟอกอากาศไว้ตรงกลาง ด้านหนึ่งของตู้จำลองใช้สำหรับพ่นเชื้อในรูปของละอองฝอย โดยพ่นเชื้อวัณโรคสายพันธุ์  H37Ra ในปริมาณ 5X108  เซลล์ และไวรัส T7 ในปริมาณ  5X108 pfu ส่วนอีกด้านหนึ่งใช้  impinger สำหรับเก็บตัวอย่างอากาศ หลังจากนั้นตรวจหาเชื้อวัณโรค และเชื้อไวรัสด้วยการใช้เทคนิคเพิ่มปริมาณดีเอ็นเอ โดยใช้ปฏิกิริยาลูกโซ่แบบ nested  PCR แบบ PCR และวิธีเพาะเชื้อ  ตามลำดับ การใช้เทคนิคเพิ่มปริมาณดีเอ็นเอโดยใช้ปฏิกิริยาลูกโซ่แบบ nested  PCR และ PCR สามารถตรวจหาเชื้อวัณโรคได้น้อยที่สุดถึง10  fg และเชื้อไวรัส  T7 ได้ 1pg ตามลำดับ แต่เนื่องจากปัญหาการใช้  PCR ไม่สามารถบอกปริมาณเชื้อได้ และเชื้อวัณโรคเติบโตช้า  ดังนั้นเชื้อแบคทีเรีย S. aureus  ปริมาณ105  cfu  และ E. coli ปริมาณ104 cfu จึงถูกนำมาใช้แทนเพื่อทดสอบประสิทธิภาพของเครื่องฟอกอากาศ โดยเปรียบเทียบจากปริมาณเชื้อจากการเพาะเชื้อพบว่าเครื่องฟอกอากาศทั้งสองแบบมีประสิทธิภาพในการกรองเชื้อไวรัส T7 (อนุภาคขนาด 0.04 ไมครอน) เชื้อ S. aureus (อนุภาคขนาด 1 ไมครอน) และเชื้อ  E. coil (อนุภาคขนาด 2 ไมครอน) มากกว่าร้อยละ99

อ่านเพิ่มเติม……
http://www.ncbi.nlm.nih.gov